เครื่องวัดทุเรียน รางวัลเหรียญทองแดง สิ่งประดิษฐ์ระดับโลก
สำนักข่าว BBC ยกย่องสิ่งประดิษฐ์ 'เครื่องวัดทุเรียน' ให้เป็น 1 ใน 7 ผลงานเครื่องมือวัดที่ดีและแปลกใหม่ ผลงานอาจารย์สจล.เครื่องวัดทุเรียนอ่อน-แก่ ด้วยคลื่นไมโครเวฟ ผลงานการวิจัยของ ผศ.ดร.ศรวัฒน์ ชิวปรีชา อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม ที่เพิ่งไปคว้ารางวัลเหรียญทองแดงสิ่งประดิษฐ์ระดับโลกจากงาน International Exhibition and Invention of Geneva 2016 ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปีก่อน
ขั้นตอนการทำงานของ เครื่องวัดทุเรียน
ขั้นตอนเครื่องวัดทุเรียนอ่อน-แก่ เริ่มต้น เลือกสุ่มทุเรียนไปวางไว้บนแท่นวัด จากนั้นจะส่งคลื่นไมโครเวฟผ่านทุเรียนไปยังสายอากาศตัวรับ ขณะที่คลื่นไมโครเวฟผ่านทุเรียน ขนาดของสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะถูกลดทอนลง และแปรผันไปตามความอ่อนหรือแก่ของทุเรียน จากนั้นข้อมูลจะส่งผ่านเครื่องส่ง-รับสัญญาณผ่านสัญญาณไวไฟ หรือโมบายอินเตอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ ไวไฟพกพา (Pocket WiFi) ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตไปไม่ถึง ไปประมวลผลที่คอมพิวเตอร์ และทำการแสดงผลบนหน้าจอว่าทุเรียนนั้นอ่อนหรือแก่ ก็รู้ผลได้ทันที
ขั้นตอนเครื่องวัดทุเรียนอ่อน-แก่ เริ่มต้น เลือกสุ่มทุเรียนไปวางไว้บนแท่นวัด จากนั้นจะส่งคลื่นไมโครเวฟผ่านทุเรียนไปยังสายอากาศตัวรับ ขณะที่คลื่นไมโครเวฟผ่านทุเรียน ขนาดของสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะถูกลดทอนลง และแปรผันไปตามความอ่อนหรือแก่ของทุเรียน จากนั้นข้อมูลจะส่งผ่านเครื่องส่ง-รับสัญญาณผ่านสัญญาณไวไฟ หรือโมบายอินเตอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ ไวไฟพกพา (Pocket WiFi) ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตไปไม่ถึง ไปประมวลผลที่คอมพิวเตอร์ และทำการแสดงผลบนหน้าจอว่าทุเรียนนั้นอ่อนหรือแก่ ก็รู้ผลได้ทันที
คลื่นความถี่คลื่นไมโครเวฟ วัดความแก่-อ่อนของทุเรียน
ผศ.ดร.ศรวัฒน์ กล่าวว่า 'เครื่องวัดทุเรียน' ดังกล่าวจะวัดความแก่-อ่อนของทุเรียนด้วยคลื่นความถี่คลื่นไมโครเวฟ โดยตัวเครื่องจะประกอบด้วยสายอากาศรับ-ส่งคลื่นไมโครเวฟ เครื่องรับ-ส่งคลื่นไมโครเวฟ โครงสำหรับ วางทุเรียน คอมพิวเตอร์ประมวลผล โดยเมื่อนำทุเรียนไปวางบนโครงแล้วปล่อยคลื่นไมโครเวฟผ่านผลทุเรียน หากพบว่ามีความถี่ที่ 57.72 ขึ้นไปผลทุเรียนยังอ่อนอยู่ แต่หากอยู่ที่ระดับ 53.17 หรือต่ำกว่า ผลทุเรียนจะแก่ สามารถนำออกจำหน่ายได้
ผศ.ดร.ศรวัฒน์ กล่าวว่า 'เครื่องวัดทุเรียน' ดังกล่าวจะวัดความแก่-อ่อนของทุเรียนด้วยคลื่นความถี่คลื่นไมโครเวฟ โดยตัวเครื่องจะประกอบด้วยสายอากาศรับ-ส่งคลื่นไมโครเวฟ เครื่องรับ-ส่งคลื่นไมโครเวฟ โครงสำหรับ วางทุเรียน คอมพิวเตอร์ประมวลผล โดยเมื่อนำทุเรียนไปวางบนโครงแล้วปล่อยคลื่นไมโครเวฟผ่านผลทุเรียน หากพบว่ามีความถี่ที่ 57.72 ขึ้นไปผลทุเรียนยังอ่อนอยู่ แต่หากอยู่ที่ระดับ 53.17 หรือต่ำกว่า ผลทุเรียนจะแก่ สามารถนำออกจำหน่ายได้
คัดเลือกทุเรียนคุณภาพ เพื่อส่งออก
ทั้งนี้ จากผลการทดลอง 'เครื่องวัดทุเรียน' ดังกล่าวจะมีประโยชน์อย่างมากในการคัดเลือกทุเรียนเพื่อส่งออก เนื่องจากได้ผลมากกว่าร้อยละ 80 อย่างไรก็ตามต่อไปจะมีการพัฒนาให้สามารถแยกความแก่ของทุเรียนในระดับต่างๆ ด้วย ประเทศไทยส่งออกทุเรียนเป็นอันดับ1 ในภูมิภาค ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา แต่มีปัญหาถูกตีกลับ เนื่องจากมีการปะปนทุเรียนอ่อนไม่ได้คุณภาพ สร้างความเสียหายมหาศาลส่งผลกระทบถึงราคาทุเรียนในประเทศทำให้ราคาตกต่ำ จึงได้งานวิจัยเครื่องมือวัด แต่ไม่ใช้เครื่องมือวัดทั่่ว ๆ ไป เช่น เครื่องมือวัดแสง เวอร์เนียร์ ลักซ์มิเตอร์ หรือ ไมโครมิเตอร์ แต่เป็นเครื่องวัดทุเรียนตรวจสอบความอ่อน-แก่ของผลไม้ขึ้นมา
ทั้งนี้ จากผลการทดลอง 'เครื่องวัดทุเรียน' ดังกล่าวจะมีประโยชน์อย่างมากในการคัดเลือกทุเรียนเพื่อส่งออก เนื่องจากได้ผลมากกว่าร้อยละ 80 อย่างไรก็ตามต่อไปจะมีการพัฒนาให้สามารถแยกความแก่ของทุเรียนในระดับต่างๆ ด้วย ประเทศไทยส่งออกทุเรียนเป็นอันดับ1 ในภูมิภาค ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา แต่มีปัญหาถูกตีกลับ เนื่องจากมีการปะปนทุเรียนอ่อนไม่ได้คุณภาพ สร้างความเสียหายมหาศาลส่งผลกระทบถึงราคาทุเรียนในประเทศทำให้ราคาตกต่ำ จึงได้งานวิจัยเครื่องมือวัด แต่ไม่ใช้เครื่องมือวัดทั่่ว ๆ ไป เช่น เครื่องมือวัดแสง เวอร์เนียร์ ลักซ์มิเตอร์ หรือ ไมโครมิเตอร์ แต่เป็นเครื่องวัดทุเรียนตรวจสอบความอ่อน-แก่ของผลไม้ขึ้นมา
ชุมพรนำร่องแห่งแรกของประเทศไทย
ก่อนหน้านี้ได้มีการตั้งด่านตรวจทุเรียนอ่อน เบื้องต้นจะประเมินด้วยสายตายังไม่มี 'เครื่องวัดทุเรียน' หากสงสัยว่าอ่อน ก็จะนำตัวอย่างส่งศูนย์งานวิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.ชุมพร ตรวจสอบด้วยกระบวนการอบความร้อนซึ่งต้องใช้เวลานาน งานวิจัย 'เครื่องวัดทุเรียน' ระบบไมโครเวฟเซ็นเซอร์ตรวจสอบความอ่อน-แก่ของผลไม้จาก สจล.ในครั้งนี้ ถือว่าชุมพรเป็นจังหวัดนำร่องแห่งแรกของประเทศไทย และพร้อมที่จะนำไปไว้ตามหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทุกอำเภอใน จ.ชุมพร เพื่อใช้เป็นเครื่องวัดทุเรียนวัดค่าความอ่อน-แก่ของทุเรียนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไป โดยสามารถใช้ร่วมกับสัญญาณไวไฟ หรือโมบายอินเตอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ ไวไฟพกพา(Pocket WiFi) ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตไปไม่ถึง
ก่อนหน้านี้ได้มีการตั้งด่านตรวจทุเรียนอ่อน เบื้องต้นจะประเมินด้วยสายตายังไม่มี 'เครื่องวัดทุเรียน' หากสงสัยว่าอ่อน ก็จะนำตัวอย่างส่งศูนย์งานวิจัยและพัฒนาการเกษตร จ.ชุมพร ตรวจสอบด้วยกระบวนการอบความร้อนซึ่งต้องใช้เวลานาน งานวิจัย 'เครื่องวัดทุเรียน' ระบบไมโครเวฟเซ็นเซอร์ตรวจสอบความอ่อน-แก่ของผลไม้จาก สจล.ในครั้งนี้ ถือว่าชุมพรเป็นจังหวัดนำร่องแห่งแรกของประเทศไทย และพร้อมที่จะนำไปไว้ตามหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทุกอำเภอใน จ.ชุมพร เพื่อใช้เป็นเครื่องวัดทุเรียนวัดค่าความอ่อน-แก่ของทุเรียนเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นต่อไป โดยสามารถใช้ร่วมกับสัญญาณไวไฟ หรือโมบายอินเตอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์ ไวไฟพกพา(Pocket WiFi) ในกรณีที่อินเทอร์เน็ตไปไม่ถึง
ตลาดกลางส่งออกผลไม้ของภาคใต้
ทางนายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.ชุมพร กล่าวว่า จ.ชุมพรนับเป็นตลาดกลางส่งออกผลไม้ของภาคใต้ โดยเฉพาะทุเรียนมีอยู่จำนวนมาก ปีที่ผ่าน ๆ มามีผลผลิตอยู่ที่ 131,741 ตัน ส่งออก 123,009 ตัน โดยช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. จะมีผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. ยังไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยว แต่มีทุเรียนออกสู่ตลาดทำให้ราคาทุเรียนสูงขึ้น ทำให้มีการตัดทุเรียนอ่อนมาจำหน่าย และมีการจับกุมดำเนินคดีมาแล้วหลายราย
ทางนายวงศศิริ พรหมชนะ ผวจ.ชุมพร กล่าวว่า จ.ชุมพรนับเป็นตลาดกลางส่งออกผลไม้ของภาคใต้ โดยเฉพาะทุเรียนมีอยู่จำนวนมาก ปีที่ผ่าน ๆ มามีผลผลิตอยู่ที่ 131,741 ตัน ส่งออก 123,009 ตัน โดยช่วงเดือน ก.ค.-ก.ย. จะมีผลผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก ช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. ยังไม่ใช่ฤดูเก็บเกี่ยว แต่มีทุเรียนออกสู่ตลาดทำให้ราคาทุเรียนสูงขึ้น ทำให้มีการตัดทุเรียนอ่อนมาจำหน่าย และมีการจับกุมดำเนินคดีมาแล้วหลายราย
Cr.ไทยรัฐ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น