คลิปรีวิวการใช้งาน เครื่องอ่าน QR Code

กรมการขนส่งฯ หนุนใช้ รถมินิบัสแทนรถตู้

กรมการขนส่งฯ หนุนใช้ รถมินิบัสแทนรถตู้


กรมการขนส่งฯ หนุนใช้ รถมินิบัสแทนรถตู้


เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความปลอดภัยในการเดินทางด้วยรถโดยสารสาธารณะของประชาชน กรมการขนส่งทางบกได้กำหนดให้ผู้ประกอบการขนส่งนำรถโดยสารขนาดเล็ก (มินิบัส) ที่ได้มาตรฐานมาให้บริการประชาชน ทดแทนรถตู้โดยสารสาธารณะ โดยให้ผู้ประกอบการเริ่มทยอยเปลี่ยนรถมินิบัส ทดแทนเฉพาะรถตู้โดยสารที่มีอายุการใช้งานครบ 10 ปี ได้แก่ รถตู้โดยสารประจำทาง หมวด 2 ที่วิ่งเส้นทางกรุงเทพ–ต่างจังหวัด และรถตู้โดยสารประจำทาง หมวด 3 วิ่งเส้นทางระหว่างจังหวัดกับจังหวัดที่มีจุดจอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทาง เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560

รถตู้โดยสาร ติดตั้ง GPS Tracking
ส่วนรถตู้โดยสารประจำทาง หมวด 1 ที่วิ่งเส้นทางในเขตกรุงเทพและปริมณฑล หมวด 3 ที่วิ่งเส้นทางระหว่างจังหวัดกับจังหวัดที่ไม่มีจุดจอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทาง และหมวด 4 ที่วิ่งในท้องที่ จะเริ่มดำเนินการเปลี่ยนเป็นรถโดยสารขนาดเล็ก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ รถโดยสารสาธารณะทุกประเภทรวมทั้งรถตู้ (ยกเว้น รถสองแถว) รถลากจูง และรถบรรทุกขนาดใหญ่ (10 ล้อขึ้นไป) ต้องติดตั้ง GPS Tracking และเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับศูนย์บริหารจัดการเดินรถของกรมการขนส่งทางบก โดยจัดเก็บข้อมูล เช่น ข้อมูลการใช้ความเร็ว, ชั่วโมงการขับขี่ และตำแหน่งพิกัดดาวเทียมของรถ ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถติดตามพฤติกรรมของผู้ขับรถ เพื่อกำหนดมาตรการในการป้องกันและลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับรถยนต์สาธารณะ รถโดยสารสาธารณะและรถบรรทุก อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารการขนส่งทางบกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ติดตั้ง เครื่องรูดบัตร แถบแม่เหล็ก
ระบบความปลอดภัย จะให้คนขับรถโดยสารสาธารณะต้องรูดใบขับขี่สาธารณะผ่าน เครื่องรูดบัตร ก่อนขับรถโดยสารสาธารณะหากไม่รูดบัตรหรือใช้ใบขับขี่ผิดประเภทจะมีเสียงร้องเตือนจนกว่าจะใช้ใบขับขี่ที่ถูกประเภทพอรูดเสร็จ เครื่อง GPS จะส่งข้อมูลคนขับรถและตำแหน่งพร้อมความเร็วไปยัง Server ของผู้ติดตั้งระบบ GPSโดยผ่านระบบเครือข่ายสัญญาณมือถือ 3G/4G ผู้ประกอบการสามารถดูตำแหน่งรถโดยสารสาธารณะและรายงานต่าง ๆ ได้ทางหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ สามารถดูตำแหน่งย้อนหลังได้ 6 เดือน ข้อมูลจะถูกส่งตรงไปยังกรมการขนส่งทางบกตลอด 24 ชม. ทั้งนี้ รถโดยสารขนาดเล็กหรือมินิบัสที่นำมาทดแทนรถตู้ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด

ติดตั้งระบบความปลอดภัย รถมินิบัส
ระบบความปลอดภัย รถโดยสารมาตรฐาน 2 (จ) จำนวนที่นั่งไม่เกิน 20 ที่นั่ง (ที่ไม่ใช่ลักษณะรถตู้) และรถโดยสารมาตรฐาน 2 (ค) จำนวนที่นั่งตั้งแต่ 21 – 30 ที่นั่ง ซึ่งรถทั้งสองมาตรฐานจะมีโครงสร้างมั่นคงแข็งแรง ทำให้มีมาตรฐานความปลอดภัยสูงขึ้น พร้อมกำหนดให้ติดตั้งอุปกรณ์ส่วนควบ เช่น ระบบเบรกแบบ ABS (Anti-lock Brake System) หรือระบบห้ามล้อแบบอื่นที่มีมาตรฐานเท่ากันหรือสูงกว่า ติดตั้ง GPS Tracking มาพร้อมกับ เครื่องอ่านบัตรแถบแม่เหล็ก เพื่อใช้อ่านใบขับขี่สาธารณะ และอุปกรณ์แสดงผลความเร็ว (Speed Monitor) มีทางออกฉุกเฉิน ค้อนทุบกระจก และถังดับเพลิง เป็นต้น

บขส. ทยอยเปลี่ยน รถมินิบัสแทนรถตู้
บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ขานรับนโยบายรถมินิบัสทันที และดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนมาใช้รถมินิบัสทดแทนรถตู้โดยสารที่มีอายุใช้งานเกิน 10 ปีแล้วในหลายเส้นทาง เช่น เส้นทางกรุงเทพ–กำแพงเพชร, กรุงเทพ–ตราด, กรุงเทพ–พัทยา, จันทบุรี–ระยอง, นครศรีธรรมราช–หาดใหญ่, ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ–เกาะช้าง รวมถึงเส้นทางจากท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา 3 เส้นทาง ไปยังตราด, ระยอง, ชลบุรี ที่เปิดให้บริการตามนโยบายรถโดยสารเชื่อมสนามบินสู่ชุมชนของกระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางบก ทั้งนี้ บขส. จะทยอยเปลี่ยนรถตู้โดยสารสาธารณะให้ครบถ้วนทุกเส้นทางเพื่อเป้าหมายความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชน

Cr.สยามธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น